วันศุกร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2556

การตั้งชื่อโดเมน สำหรับ SEO


เว็บไซต์ที่มีชื่อโดเมนตรงกับคำค้น มักจะแสดงผลลัพธ์จากการค้นหาโดย Search Engine ในตำแหน่งที่ดี ตรงกับคำพูดที่ว่า “แค่ชื่อดี มีชัยไปกว่าครึ่ง”

ชื่อโดเมน หรือ โดเมน คือ ชื่อที่ใช้เรียกแทนตำแหน่งที่ตั้งของเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย แทนการใช้หมายเลข IP Address ถ้าจะให้เปรียบเทียบแล้ว IP Address คือ บ้านเลขที่ แต่ชื่อโดเมน คือ ชื่อบ้าน หรือ ชื่ออาคาร และแน่นอนว่าถ้ากล่าวถึงชื่อโดเมนแล้ว สิ่งที่คู่กัน คือ นามสกุลโดเมนต้องถูกกล่าวถึงด้วยเช่นกัน นามสกุลของโดเมนแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

Meta Tag Optimization (การเขียน Meta Element ให้เหมาะกับการทำ SEO)


Metadata Elements หรือ Meta Tag คือ ส่วนของซอร์สโค๊ดที่อยู่ใน Head (ส่วนหัว) ของเอกสาร HTML โดยปกติเมื่อเราเปิดหน้าเว็บไซต์หนึ่ง ๆ ขึ้นมา ส่วนของ Head จะถูกประมวลผลก่อน ดังนั้น Meta Tag จึงเป็นส่วนที่บอกคุณลักษณะของเว็บนั้น ๆ ว่าเป็นเว็บเกี่ยวกับอะไร แสดงผลด้วยภาษาอะไร ใครเป็นผู้เขียน มีคำค้นที่ใช้ว่าอะไร เป็นต้น

ซึ่ง Robot ของ Search Engine จะเก็บข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการประมวลผลจัดเก็บเว็บไซต์ เรามาทำความรู้จักกับ Meta Element แต่ละ Tags กันดีกว่าครับ ผมจะใช้ความรู้สึกของผมในการวัดว่า Tagsใด มีผลกับการทำ SEO มากหรือน้อยในวงเล็บหลังหัวข้อนะครับ (ซึ่งไม่จำเป็นต้องเชื่อผมก็ได้)

Link Popularity หัวใจของ การทำ SEO


ผมฟังจากการบอกต่อ ๆ กันมาจากผู้เชี่ยวชาญด้าน SEO ว่า การทำ SEO นั้นหัวใจอยู่ที่ Link Popularity ซึ่งในบทความนี้ เราจะมาพูดเรื่องของ Link Popularity กันครับ

Link Popularity คือ อะไร (What is Link Popularity ?)

Link Popularity คือ จำนวนหน้าเว็บที่ Links เข้ามาในหน้าหนึ่ง ๆ ของเว็บไซต์ พูดง่าย ๆ คือ จำนวน Links นั่นเอง ไม่มีความหมายใด ๆ แฝงอยู่
ประเภทของ Link Popularity (Type of Link Popularity) 
Link Popularity สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
  • One-Way Links หรือ 1-Way Links คือ การ Links แบบทางเดียว เช่น เว็บไซต์ A ทำ Links ไปที่เว็บไซต์ B แต่เว็บไซต์ B ไม่ต้องทำ Links กลับไปเว็บไซต์ A
  • Two-Way Links หรือ 2-Way Links คือ การ Links แบบสองทาง เช่น เว็บไซต์ A ทำ Links ไปที่เว็บไซต์ B และ เว็บไซต์ B ต้องทำ Links กลับไปหาเว็บไซต์ B ด้วย
  • Three-Way Links หรือ 3-Way Links คือ การ Links แบบสามทาง เช่น เว็บไซต์ A ทำ Links ไปที่เว็บไซต์ B แต่เว็บไซต์ B ให้เว็บไซต์ C ทำ Link กลับไปหาเว็บไซต์ A แทน

On-Page Factor และ Off-Page Factor


ถ้าพูดกันถึงเรื่องการทำ SEO คงมีหลายครั้งที่มีคนพูดถึง Factor หรือ ปัจจัยต่าง ๆ ของการทำ SEO
ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ On-Page Factor และ Off-Page Factor

On-Pages Factor คือ ทุกสิ่งที่ Search Engine สามารถมองเห็นจากเว็บไซต์ เช่น
เนื้อหา หัวเรื่อง การเชื่อมโยง  เป็นต้น เหมือนกับที่มนุษย์สามารถมองเห็นได้จากโปรแกรม Text Browser
ซึ่งในการทำ On-Page Factor ควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
  1. ที่ Title Tag ควรใส่คำที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาภายในหน้าเอกสารนั้น ๆ เช่น ถ้าเนื้อหาของหน้าเว็บนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับโลกร้อน ควรใช้ Title ว่า “โลกร้อน”
  2. ควรวางขอบเขตของเนื้อหาในเอกสารแต่ละหน้า เช่น ถ้าต้องการเขียนเรื่องข้อมูลภาพยนตร์ ก็ไม่ควรให้มีข้อมูลอื่น ๆ เช่น เล่นเกม ฟังเพลง ปนอยู่
  3. การสร้าง Links ควรเชื่อมโยงไปที่หน้าเอกสาร ที่เกี่ยวกับข้อความที่ปรากฎใน Links เช่น การทำ HyperLinks ที่ข้อความว่า “ภาพยนตร์” ก็ควร Links ไปในหน้าที่มีข้อมูลภาพยนตร์ ไม่ควร Link ไปในหน้าที่มีเนื้อหาอื่น ๆ เช่น เนื้อเพลง หรือ กลอน
  4. พยายามจัดกลุ่มของเนื้อหา และการเชื่อมโยงต่าง ๆ ให้สามารถเข้าถึงได้ง่าย
พยายามตั้งชื่อไฟล์ให้สอดคล้องกับหัวข้อของเนื้อหาภายในหน้าเอกสาร

Google Pagerank คือ อะไร


Google Pagerank หรือ PR คือ ค่าลำดับคะแนนที่ Google ประเมินให้กับคุณภาพของเนื้อหา ในหน้าเว็บเพจแต่ละหน้า ที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ (หลาย ๆ คนอาจเข้าใจผิดว่า Pagerank คือ การประเมินคะแนนของทั้งเว็บไซต์ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดนะครับ) โดยคะแนนที่ปรากฎจะอยู่ในช่วงระหว่าง 0 ถึง 10 สำหรับหน้าเว็บเพจที่ไม่มีค่า Pagerankระบบจะแจ้งเป็น “No PageRank information available”

จะสามารถตรวจสอบค่า Pagerankได้อย่างไร ?
ค่า Pagerankสามารถตรวจสอบได้โดยใช้ Google Toolbar (สามารถ Download ได้ที่ http://toolbar.google.com/) ใช้ได้กับทั้ง Microsoft Internet Explorer และ Mozilla FireFox ซึ่งเมื่อติดตั้งแล้วจะมีแถบวัดค่า Pagerank แสดงผลลัพธ์ของแต่ละหน้า เมื่อเรียกดูหน้าเว็บเพจนั้น ๆ ผ่านโปรแกรม Web Browser